ทำไม … ลูกชอบดึงผมตัวเองเล่น จนผมหายไปเป็นหย่อมๆ ขนคิ้วก็แทบไม่เหลือแล้ว 🤯
โรคดึงผม (Trichotillomania or Hair-Pulling Disorder) จัดเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางจิตเวชในกลุ่มโรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคที่ต้องการดึงผมหรือขนตามร่างกายของตนเอง โดยเฉพาะบริเวณหนังศีรษะ ขนตา ขนคิ้ว หรือขนตามตัว จนลดลงอย่างสังเกตเห็นได้ชัด
ส่วนใหญ่อาการของโรคเริ่มเกิดใน 2 ช่วงอายุ คือ “วัยเด็ก” และ “วัยรุ่น”
✨สาเหตุ : ยังสรุปไม่ได้แน่ชัด แต่สัมพันธ์กับการทำงานผิดปกติของสมองบางส่วน รวมทั้งอาจเกิดจากปัญหาทางอารมณ์และจิตใจที่มีความเครียดเกินกว่าที่เด็กจะรับมือได้ ไม่รู้วิธีจัดการกับอารมณ์นั้นและแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่ทำแล้วเด็กรู้สึกสบายใจ ด้วยการดึงผม เล่นผมให้รู้สึกเพลิดเพลิน ซึ่งสิ่งนี้อาจจะสะท้อนถึงการเลี้ยงดูและการใช้เวลากับเด็กที่ไม่เพียงพอ ทำให้เด็กมีความรู้สึกวิตกกังวล เครียด หรือมีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ ซึ่งจะมีอาการ 2 รูปแบบ
- การกระทำขณะรู้ตัว อาจจะรู้สึกไม่สบายหนังศีรษะ คัน หรือรู้สึกยุกยิก ๆ
- การกระทำขณะไม่รู้ตัว มักจะดึงระหว่างทำกิจกรรมอื่น ๆ อยู่
แนวทางการช่วยเหลือ : ทำกิจกรรมเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ
- กิจกรรมที่ใช้มือเป็นหลัก เช่น การวาดรูป การปั้น เป็นต้น พ่อ แม่ผู้ปกครองควรให้เวลาที่มี “คุณภาพ” กับเด็กมากขึ้น
- สังเกตพฤติกรรมและคอยแนะนำ เตือนเมื่อมีพฤติกรรมการดึงผม
- การปรับพฤติกรรม (Behavior Therapy) ไม่ว่าจะเป็น biofeedback การผ่อนคลาย หรือ การทำจิตบำบัดรูปแบบต่างๆ
ในกรณีที่เด็กไม่สามารถยับยั้งพฤติกรรมการดึงผมตนเองได้ จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน แนะนำให้พบจิตแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและแก้ปัญหาที่ต้นเหตุที่แท้จริง
❤️ พิชญานิน คลินิก (คลินิกสุขภาพใจ) ชั้น 3 ศูนย์การค้า พาราไดซ์พาร์ค (สวนหลวง ร.9) เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.30 น. - 20.00 น.
☎️ inbox ขอคำปรึกษาหรือทำนัดหมายล่วงหน้าได้ที่ 06-3868-9925 หรือ LINE: @pichayaninclinic / Line https://lin.ee/GiDkelu หรือ Website www.pichayaninclinic.com