จากข่าวดังที่มีนักโทษชายเสียชีวิตในเรือนจำ ทำไมสื่อถึงให้ความสนใจติดต่อสอบถามแพทย์กันมามากว่า เป็นคดีการฆาตกรรมใช่ไหม?
แพทย์ … ไม่ได้มีหน้าที่ตอบคำถามที่ชี้นำ เพราะสาเหตุที่แท้จริงของการเสียชีวิตนั้นเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการสืบสวนสอบสวนและให้ข้อเท็จจริงแก่สาธารณะโดยตรง แต่แพทย์จะให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนว่า การฆาตกรรม (ถูกผู้อื่นทำให้เสียชีวิต) ต่างกับ อัตฆาตกรรม หรือ อัตวินิบาตกรรม (ตั้งใจทำให้ตนเองเสียชีวิต) ในที่นี้ จะขอกล่าวถึง อัตฆาตกรรม หรือ อัตวินิบาตกรรม เพื่อช่วยกันดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุก่อนจะสายเกินไป
สาเหตุ : ที่ทำให้เกิดความตั้งใจในการฆ่าตัวตายหรือตั้งใจทำให้ตนเองเสียชีวิตสำเร็จนั้น ส่วนใหญ่แล้วคนที่ฆ่าตัวตายจะมีปัญหารุมเร้าหรือมีการสูญเสียและไม่สามารถหาทางออกได้ เช่น ปัญหาส่วนตัว ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ปัญหาความสัมพันธ์ การสูญเสียคนรัก การถูกปลดออกจากตำแหน่ง สูญเสียอำนาจ การป่วยเป็นโรคร้ายแรงและเรื้อรัง การมีจิตใจที่ท้อแท้ ทุกข์ใจอย่างหนัก ล้วนส่งผลต่อความรู้สึก อารมณ์และจิตใจอย่างรุนแรง (emotionally disturbed) หรือมีความเจ็บป่วยเป็นโรคจิตวิตกกังวลที่รุนแรงและเรื้อรังจนมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย ทำให้หมดกำลังใจที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป
อาการ : คนที่คิดจะฆ่าตัวตายนั้นมีสองความคิดที่ต่อสู้กันอยู่ตลอดเวลา คือ ความคิดที่ต้องการจะมีชีวิตอยู่ กับความคิดที่อยากจะตาย และการพยายามฆ่าตัวตาย(suicidal attempt) จึงเป็นเสมือนการร้องขอความช่วยเหลือ (a cry for help) อย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะมี “ร่องรอย” (clues) ที่ส่งสัญญาณเตือนคนรอบข้างทั้งการพูดหรือการกระทำก่อนลงมือฆ่าตัวตาย เช่น เก็บตัว แยกตัวจากสังคม ไม่กิน ไม่นอน หรือคำพูดแปลกๆ ว่า “ลาก่อน”, “หมดเวรหมดกรรม“ เป็นต้น
กรณีศึกษา (case study) ของนักโทษชาย … จากเดิมเคยเป็นคนที่มีชื่อเสียง มีหน้ามีตา มีตำแหน่งหน้าที่ในสังคม เป็นคนที่ประสบความสำเร็จ แล้ววันหนึ่งชีวิตก็เปลี่ยนไปจากคนที่เคยอยู่ในเครื่องแบบ มีเกียรติ มีหน้าที่ควบคุมและดูแลความสงบสุขเรียบร้อย กลับถูกคำพิพากษาให้เปลี่ยนสถานะกลายเป็น “นักโทษ” ที่ต้องถูกจองจำ ต้องใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ในเรือนจำ ต้องสูญเสียสถานภาพ ต้องเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่ถูกจำกัดอิสระเสรีภาพ ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับนักโทษที่มาจากร้อยพ่อพันแม่ ต้องพยายามปรับตัวให้ “อยู่รอด” ส่งผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจ ทำให้เกิดอาการเครียด วิตกกังวล หวาดกลัว (The Paranoid Pseudo-community by Dr.Norman Cameron) เมื่อไม่สามารถปรับตัวได้ ต้องอดทนและทนอยู่กับสถานการณ์ดังกล่าวจนเกิดอาการทางจิตที่รุนแรงและเรื้อรัง มีอาการหวาดระแวงและอาการซึมเศร้า รู้สึกสิ้นหวัง (Hopeless) หมดหนทางช่วยเหลือ (Helpless) การตอบสนองต่อความเครียดอย่างเฉียบพลันจนเกิดอาการหลอนว่าจะมีบางสิ่งที่น่าหวาดกลัวต่อร่างกายและจิตใจ ก็จะแสดงออกโดยเลือกที่จะ “สู้ (Fight) => ฆ่าคนอื่น” หรือ เลือกที่จะ “ถอยหนี (Flight) => ฆ่าตนเอง” เพื่อยุติปัญหาดีกว่าให้คนอื่นมาทำร้าย
❤️ พิชญานิน คลินิก (คลินิกสุขภาพใจ) ชั้น 3 ศูนย์การค้า พาราไดซ์พาร์ค (สวนหลวง ร.9) เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.30 น. - 20.00 น.
☎️ inbox ขอคำปรึกษาหรือทำนัดหมายล่วงหน้าได้ที่ 06-3868-9925 หรือ LINE: @pichayaninclinic / Line https://lin.ee/GiDkelu หรือ Website www.pichayaninclinic.com