เวลาเรามีเรื่องไม่สบายใจ ... ก็จะหาใครสักคนที่เราไว้ใจ เช่น เพื่อนสนิท มารับฟังความทุกข์ (Trauma Dumping) ซึ่งเปรียบเหมือน "ขยะในใจ" แม้เพื่อนจะไม่ได้ช่วยอะไรแค่รับฟังเราก็รู้สึกสบายใจ แต่ถ้าต้องไประบายความในใจบ่อยๆ ก็รู้สึกเป็นห่วงเพราะ "เพื่อนไม่ใช่ถังขยะ" ที่จะมารองรับขยะในใจและมาแบกรับความทุกข์ร่วมกับเราได้ตลอดไป
ปัจจุบัน ... หลายคนจึงหันไปหาวิธีอื่น เช่น เขียนระบายความทุกข์ใจในโลก Social ที่เป็นพื้นที่ที่ไม่จำเป็นต้องรู้จักกัน (ไม่รู้จักฉัน ... ไม่รู้จักเธอ) ขอแค่มีพื้นที่ที่ได้ระบายอารมณ์ความรู้สึกที่บอบช้ำในจิตใจ ซึ่งเปรียบเสมือนดาบสองคม เช่น โพสต์สั้นๆ ว่า "เบื่อ" เพื่อเรียกร้องความสนใจให้คนเข้ามาพูดคุยสอบถาม "เป็นไรอ่ะ?" "กอดๆ" ฯลฯ ถ้าไม่มีใครมากด like ไม่มีใครมาเม้นท์ ก็จะยิ่งรู้สึกเศร้าเสียใจที่ไม่มีใครสนใจ แต่หารู้ไม่ว่าบางครั้งคนที่เข้ามาอ่านก็อาจจะเคยมีประสบการณ์เดียวกัน เกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วมกัน เสมือนไปตอกย้ำความทรงจำในอดีตที่เลวร้าย หรือไปสะกิดแผลในใจที่เจ็บปวดโดยไม่ทันตั้งตัว และบางครั้งอาจทำให้เกิด "การเสพติดความเศร้า" และจมอยู่ในความทุกข์และความเจ็บปวดร่วมกัน จนส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตทั้งของคนที่มาระบาย (ขยะในใจ) และคนที่เข้ามารับรู้รับฟัง (ถังขยะ)
ดังนั้น ... เราต้องหาวิธีป้องกันโดยไม่รับขยะเข้ามาไว้ในใจ แต่ถ้าไม่ไหว ก่อนที่เราจะระบายเรื่องราวความทุกข์ใจให้คนอื่นที่เราไว้ใจฟัง ก็ฝึก "How to ... ทิ้งขยะในใจ" เพื่อจัดการอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง โดย
เพราะความทุกข์ในใจเปรียบเหมือนขยะ ยิ่งสะสมไว้นานวันยิ่งส่งกลิ่นเน่าเหม็นที่ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ อีกทั้งตัวเราและคนที่เรารักก็ไม่ใช่ถังขยะ ดังนั้นเราควรจะเรียนรู้และฝึกสติที่จะจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกลบ แล้วเราก็จะเป็นคนที่มี "ความสุข" ได้ในทุกสถานการณ์