เวลาทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 11.00-20.00 | วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 10.00-20.00
เวลาทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 11.00-20.00
วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 10.00-20.00
#

การฆ่าตัวตาย ... เลียนแบบ!!!

ปัจจุบันรูปแบบของการฆ่าตัวตายเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคของสังคมก้มหน้า ชีวิตที่จมอยู่ในโลกออนไลน์มากเกินไป ทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เมื่อมีการเสพข้อมูลข่าวสารการ "ฆ่าตัวตาย" ทั้งของคนทั่วไปหรือคนที่มีชื่อเสียง อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการฆ่าตัวตายเลียนแบบ (copycat suicide) หรือการฆ่าตัวตายเป็นกลุ่มก้อน (suicide cluster) ซึ่งเป็นภัยใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย และเกิดขึ้นได้กับคนปกติ ไม่ใช่แต่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเท่านั้น เพราะมีหลายรายที่ฆ่าตัวตายสำเร็จโดยไม่เคยมีประวัติการเจ็บป่วยหรือการรักษาทางจิตเวชมาก่อน ทั้งนี้อาจเกิดจากอารมณ์ชั่ววูบที่หาทางออกไม่ได้ ไม่รู้จะระบายหรือปรึกษาใคร บางคนอาจผิดหวังจากความรัก, ปัญหารุมเร้าที่ก่อให้เกิดความเครียด, มีความขัดแย้งทางธุรกิจ, มีหนี้สินมากมาย, มีอาการเจ็บป่วยทางกาย เป็นต้น

การป้องกันพฤติกรรมเลียนแบบการฆ่าตัวตาย คือ

  1. สื่อมวลชน : นำเสนอข่าวด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายอย่างละเอียด หลีกเลี่ยงการนำเสนอข่าวที่ไปกระตุ้นความสนใจและเร้าอารมณ์ความรู้สึก หลีกเลี่ยงการสันนิษฐานสาเหตุการฆ่าตัวตายอย่างผิวเผิน แต่ควรจะนำเสนอข้อมูลความรู้และช่องทางขอความช่วยเหลือสำหรับผู้ที่กำลังมีความทุกข์ใจ เช่น การขอรับคำปรึกษาทางสายด่วนสุขภาพจิต โทร 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง
  2. บุคคลใกล้ชิด เช่น เพื่อนฝูง หรือ ครอบครัว ต้องคอยสังเกตอาการหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป รวมทั้งสัญญาณเตือนต่างๆ เพื่อขอความช่วยเหลือ เช่น เก็บตัว เศร้า สั่งเสีย เป็นต้น
  3. ประชาชน : หากมีอาการโดดเดี่ยว เหงา เบื่อ เศร้า กินไม่ได้นอนไม่หลับ ฯลฯ ควรจะปรึกษาจิตแพทย์