ปกติคนเราจะมีความกลัว (Fear) เป็นอารมณ์พื้นฐานในการเอาตัวรอดและต่อสู้กับปัญหาหรือภัยต่างๆ (Coping Mechanism) ซึ่งมี 3 วิธีการหลัก คือ
ถ้าความกลัวอยู่ในระดับพอดีและเหมาะสมกับภัยนั้นๆ ก็จะเป็นประโยชน์ในการต่อสู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าความกลัวมากเกินไปก็จะกลายเป็นความกังวล (Anxiety) ซึ่งจะมีอาการคิดไปล่วงหน้าว่าจะเกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นโทษเป็นพิษเป็นภัยกับตัวเอง ไม่เป็นอันกินอันนอน ถ้าเป็นมากถึงขั้นส่งผลเสียกระทบต่อชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน ก็จะเข้าข่ายการเจ็บป่วย ที่เรียกว่า โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) ถ้ากลัวเรื่องทั่วๆ ไป จะเรียกว่า Generalized Anxiety Disorder แต่หากกลัวสิ่งที่เฉพาะเจาะจง เช่น กลัวสุนัข กลัวความสูง เป็นต้น จะเรียกว่า Phobic Disorder หรือ โรคย้ำคิดย้ำทำในบางเรื่อง ที่เรียกว่า Obsessive-Compulsive Disorder
ดังนั้น เราต้องหมั่นสังเกตตัวเอง และเท่าทันอารมณ์ความรู้สึกกลัวได้ แต่ถ้ามากเกินไปและไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกกลัวได้ก็ควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ