เวลาทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 11.00-20.00 | วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 10.00-20.00
เวลาทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 11.00-20.00
วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 10.00-20.00
#

Burnout ภาวะหมดไฟที่มักเกิดจากความเครียดสะสม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

Burnout คืออะไร? รู้จักภาวะหมดไฟจากความเครียดสะสมที่ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ พร้อมวิธีป้องกันและดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากภาวะนี้

เคยไหม... ที่ไม่อยากตื่น หรือถ้าตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกหมดแรง ไม่อยากลุกขึ้นไปทำงาน?

Burnout Syndrome หรือภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นอาการที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นโรคใหม่ที่เกิดขึ้นกับผู้คนในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเครียดเรื้อรังทั้งทางอารมณ์และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในที่ทำงาน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอาการหลัก ดังนี้:

  1. ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์และหมดใจในการทำงาน (Emotional Exhaustion): รู้สึกหมดแรง สูญเสียพลังงาน อ่อนล้าและหมดเรี่ยวแรงทันทีที่หมดเวลาทำงาน

  2. ความรู้สึกแปลกแยกจากบุคคลอื่น (Depersonalization): มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ ไม่ผูกพันกับบุคคลหรือองค์กร รู้สึกเฉยชาและไร้ชีวิตชีวา

  3. ความนับถือตนเองต่ำ (Low Self-Esteem): รู้สึกไร้ค่า ไร้ความสามารถ และรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จในการทำงาน มีความคิดเชิงลบ ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน

สาเหตุ: เกิดจากภาระงานที่ไม่ถนัด งานที่มีความซับซ้อน เป็นงานด่วน ปริมาณงานมากเกินไป ขาดอำนาจในการตัดสินใจ ทำงานอย่างโดดเดี่ยว ขาดคนที่เข้าใจหรือเป็นที่ปรึกษา รับผิดแต่ไม่เคยได้รับคำชื่นชมหรือสิ่งตอบแทน ทำงานโดยไม่มีวันหยุดพักผ่อน

ภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) ตาม Miller & Smith (1993) แบ่งออกเป็น 5 ระยะ ดังนี้:

  1. ระยะฮันนีมูน (The honeymoon): เป็นช่วงเริ่มงานใหม่ มีไฟในการทำงาน สนุกกับงาน และสามารถรับแรงกดดันต่าง ๆ ได้ดี

  2. ระยะรู้สึกตัว (The awakening): เริ่มตั้งคำถามว่า "ฉันมาทำอะไรที่นี่?" รู้สึกผิดหวังที่ไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังของงานได้ มีความไม่สมดุลระหว่างปริมาณงาน ค่าตอบแทน และการยอมรับในที่ทำงาน

  3. ระยะไฟตก (Brownout): เริ่มรู้สึกเบื่อหน่าย เหนื่อยล้า อารมณ์แปรปรวน ไม่อยากพูดคุยกับใคร

  4. ระยะหมดไฟเต็มที่ (Full scale of burnout): หมดไฟอย่างสมบูรณ์ ท้อแท้ สิ้นหวัง หมด passion
    ในการทำงาน และมองหาทางออกด้วยการลาออก

  5. ระยะฟื้นตัว (The phoenix phenomenon): หากได้รับคำปรึกษาหรือการบำบัด จะสามารถปรับวิธีคิดและอารมณ์ให้กลับมามีพลังในการทำงานต่อได้


การป้องกันและแก้ไข:

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ฝึกและพัฒนาทักษะในการทำงาน เช่น ทักษะการบริหารเวลา (Time Management), ทักษะการแก้ไข
  • ปัญหา (Problem Solving), และทักษะการสื่อสาร (Effective Communication)
  • สร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เช่น เจ้านาย ลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงาน หลีกเลี่ยงการพูดคุยกับคนที่มี
  • ความคิดเชิงลบ (Toxic People) และปรับทัศนคติในการยอมรับความแตกต่างของผู้คน
  • ฝึกเจริญสติและทำสมาธิ อยู่กับปัจจุบัน (Here and Now) เพื่อจัดการกับความเครียดและทำใจให้สงบ

แต่หากยังรู้สึกทุกข์ใจ ทรมานกับการใช้ชีวิต หรือมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ ควรปรึกษาจิตแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ทันท่วงที

ที่พิชญานิน คลินิก คลินิกสุขภาพใจ พร้อมรับฟังปัญหา และบริการวางแผนการรักษาโรคซึมเศร้าจากภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) โรคแพนิค โรควิตกกังวล โรคสมาธิสั้น โรคนอนไม่หลับ และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รับปรึกษาปัญหาความรัก หรือปรึกษาปัญหาโรคจิตเวชอื่น ๆ โดยจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดูแลครอบคลุมทั้งบริการทางจิตเวชทั่วไปในเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ มีการตรวจประเมินสุขภาพจิตอย่างละเอียด ทั้งด้านการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ระบบประสาท และประเมินศักยภาพสมอง สามารถให้คำปรึกษาในกลุ่มอาการหลากหลายที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของท่าน หรือคนที่ท่านรัก เพื่อเพิ่มสมาธิให้กับจิตใจ และทำให้คุณได้ใส่ใจในรายละเอียดเล็ก ๆ ในชีวิตมากขึ้น ผู้รับบริการจะได้รับความรู้ความเข้าใจในภาวะโรค และมีบทบาทในการวางแผนการรักษาร่วมกัน ทั้งในส่วนการรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัด 

พิชญานิน คลินิก คลินิกสุขภาพใจ บริการวางแผนรักษาโรคทางจิตเวช
โทร. 063-868-9925, 02-853-3863
อีเมล pichayaninclinic@gmail.com