เวลาทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 10.00-20.00 | วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 10.00-20.00
เวลาทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 10.00-20.00
วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 10.00-20.00
การเรียนรู้เทคนิคการให้คำปรึกษาเมื่อคู่รักมีปัญหา

การเรียนรู้เทคนิคการให้คำปรึกษาเมื่อคู่รักมีปัญหา

จัดการปัญหารักให้อยู่หมัด ด้วย 5 วิธีจัดการปัญหาคู่รักแบบเบื้องต้นอย่างมืออาชีพ

ว่ากันว่า ‘คู่รัก’ นั้นเปรียบเสมือนลิ้นกับฟัน ที่ต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ทำงาน และใช้ชีวิตร่วมกัน แต่ในบางครั้งก็เกิดการกระทบกระทั่งกันจนรู้สึกเจ็บปวดทั้งใจและกายได้ และแม้ว่าเราจะมองว่าการทะเลาะกันของคู่รักเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องปกติ เพราะนั่นหมายความว่าชีวิตคู่ของคุณกำลังอยู่ในจุดที่อันตราย ทั้งต่อตัวเองและคนรอบข้าง โดยเฉพาะคู่ไหนที่มีบุตรร่วมกันแล้ว ภาพเหตุการณ์เหล่านั้นก็จะส่งผลกระทบไปถึงใจของเด็ก ๆ จนเกิดเป็นปัญหาในเด็กขึ้นมาอีกชั้นหนึ่งได้เลย

อย่างไรก็ตาม ทุกปัญหาย่อมมีทางแก้ไข และหนึ่งในคนที่จะช่วยหาสาเหตุนั้นเจอได้ ก็คือ ‘จิตแพทย์’ ในฐานะที่ พิชญานิน คลินิก เป็นคลินิกสุขภาพจิตที่บริการให้คำปรึกษาปัญหาครอบครัว, ปัญหาชีวิตคู่ และปรึกษาปัญหาความรัก เราจึงอยากจะมาแนะนำ 5 แนวทางเบื้องต้น ในการจัดการปัญหาเหล่านี้อย่างมืออาชีพ เพื่อช่วยรักษาความสัมพันธ์ของทุกคนให้ยาวนาน และมีความสุข ตามมาดูแนวทางทั้งหมดไปพร้อมกันได้เลย

รวม 5 แนวทางฮีลใจคู่รัก ให้ปรับความเข้าใจกันได้เมื่อมีปัญหา

  1. ทำความเข้าใจรูปแบบความสัมพันธ์ให้ชัดเจน
    การทำความเข้าใจรูปแบบความสัมพันธ์เป็นก้าวสำคัญในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น สามารถเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการสังเกตพฤติกรรม และปฏิกิริยาของคู่เราว่ามีปฏิกิริยาต่อกันอย่างไร โดยรูปแบบความสัมพันธ์ทั้งคุณ และคู่ของคุณที่พบได้บ่อยจะมีดังนี้

    • Pursuer + Distancer: ความสัมพันธ์ที่ฝ่ายหนึ่งพยายามเข้าหา และเรียกร้องความใกล้ชิด ในขณะที่อีกฝ่ายถอยห่าง และต้องการพื้นที่ส่วนตัว

    • Attack + Attack: ความสัมพันธ์ที่ทั้งคู่มีการโต้เถียง ตำหนิ หรือกล่าวโทษซึ่งกัน และกัน มักมีอารมณ์ร้อนและความขัดแย้งสูง

    • Withdraw + Withdraw: ความสัมพันธ์ที่ทั้งสองฝ่ายหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า และปิดกั้นความรู้สึก ทำให้เกิดความห่างเหินทางอารมณ์

      หลังจากลองสำรวจจนพบรูปแบบความสัมพันธ์แล้ว ให้พยายามมองโดยไม่ตัดสินว่าใครถูก หรือผิด แต่พิจารณาว่าส่งผลต่อความสุขในความสัมพันธ์อย่างไร จากนั้นเปิดใจคุยกับคู่ของคุณเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็น และร่วมกันวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสร้างรูปแบบความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจต้นตอของปัญหา และหาทางแก้ไขได้ตรงจุด

  2. มอง ‘ปัญหา’ เป็นเรื่องของทั้งสองคน
    การมองปัญหาเป็นเรื่องของทั้งคู่เป็นแนวคิดสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่ง และยั่งยืน เพราะแทนที่จะมองว่าปัญหาเกิดจากความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เราควรเข้าใจว่าความสัมพันธ์เป็นระบบที่ซับซ้อน ซึ่งเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนสองคน และต่างฝ่ายต่างมีส่วนร่วมในการสร้างสถานการณ์นั้น ๆ ขึ้นมา ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม มุมมองเช่นนี้ จะช่วยลดการกล่าวโทษ ลดความขัดแย้ง ทำให้ทั้งคู่สามารถร่วมมือกันหาทางออก และแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างบรรยากาศของความเข้าใจ และการยอมรับซึ่งกันและกันได้ในที่สุด 

  3. ฝึกเรื่องความยืดหยุ่น และทำให้มี ‘เรา’ เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ผ่านภาษารัก
    หลังจากที่เข้าใจรูปแบบความสัมพันธ์ ทุกคนก็จะเข้าใจธรรมชาติ และลักษณะนิสัยในคู่ของตัวเอง ลำดับต่อมาจึงเป็นเรื่องของการนำความเข้าใจ มาเปลี่ยนให้เป็นการกระทำที่เอาใจใส่ และคำนึงถึงคำว่า ‘เรา’ เอาไว้ในความสัมพันธ์ เพื่อสร้างความเป็นทีมและรับผิดชอบร่วมกัน การพูดคุยต้องไม่มีการตำหนิ ลดอีโก้ พร้อมกล่าวคำขอโทษ ขอบคุณ และขอโอกาสใหม่ และต้องฟังอย่างสะท้อนความรู้สึกของกันและกันเพื่อเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ความขัดแย้งจึงเป็นโอกาสในการเรียนรู้และเสริมสร้างความรักให้มั่นคงยิ่งขึ้น

  4. การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา คือกุญแจสำคัญของการแก้ไขปัญหาคู่รัก
    การสื่อสารอย่างเปิดเผย และจริงใจเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจ และความใกล้ชิดในความสัมพันธ์ แทนที่จะเก็บกดความรู้สึก หรือหลีกเลี่ยงการพูดคุยเรื่องสำคัญ ให้ฝึกแสดงออกถึงความรู้สึก และความต้องการของตนเองอย่างตรงไปตรงมา หรือถ้าใครยังไม่รู้ว่าควรเริ่มต้นอย่างไร ก็สามารถนำเทคนิคการพูดคุยด้วยภาษารัก (Love Languages) ไปใช้ได้ โดยวิธีการนี้คือการสื่อสาร 5 รูปแบบ ตามคำแนะนำจาก Dr. Gary Chapman ที่สามารถใช้ได้กับทุกความสัมพันธ์ทั้งกับคนในครอบครัว เพื่อน คู่รัก หรือแม้กระทั่งคนร่วมงาน  ประกอบไปด้วย การบอกรักด้วยคำพูด (Words of Affirmation ), การใช้เวลาร่วมกัน (Quality Time), การมอบของขวัญ (Receiving Gifts), การกระทำเพื่อคนที่รัก (Acts of Services), และการสัมผัสทางกาย (Physical Touch ) ทั้งนี้ การสื่อสารด้วยภาษารักช่วยสร้างความสุขและความผูกพันระหว่างผู้ให้และผู้รับอย่างลึกซึ้ง

  5. ให้จิตแพทย์ช่วยเป็นกาวใจ และให้คำปรึกษาที่ตรงจุด อย่างมีประสิทธิภาพ
    แนวทางทั้งหมดที่กล่าวมาควรทำควบคู่กับการปรึกษาจิตแพทย์ เพราะในกรณีที่คู่รักกำลังเผชิญปัญหาความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน ผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ ให้คำแนะนำที่ตรงจุด และเป็นกลางได้ อีกทั้งยังช่วยระบุปัญหาที่แท้จริง พัฒนาทักษะการสื่อสาร และสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการแสดงความรู้สึกได้ด้วย ดังนั้น ถ้าคู่รักคู่ไหนสังเกตว่าคู่ของตัวเองมีปัญหาที่เกิดซ้ำ หรือยากแก้ไขด้วยตนเอง การปรึกษาปัญหาความรักกับผู้เชี่ยวชาญอาจเป็นก้าวสำคัญในการฟื้นฟู และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับความสัมพันธ์ของคุณ

ทั้งหมดนี้คือ 5 วิธีการจัดการปัญหาคู่รัก ที่ พิชญานิน คลินิก เลือกมาแนะนำให้ทุกคนได้ลองปฏิบัติตาม ส่วนคู่รักคู่ไหนที่กำลังมองหาคลินิกสุขภาพจิตที่พร้อมด้วยบุคลากรและทีมจิตแพทย์เก่ง ๆ เพื่อช่วยเป็นกาวใจในการแก้ปัญหา 

พิชญานิน คลินิก คลินิกสุขภาพใจ สถานที่ที่คุณสามารถปรึกษาปัญหาความรักได้อย่างสะดวกสบาย และเป็นส่วนตัว ไม่ว่าคุณกำลังเผชิญกับปัญหาในความสัมพันธ์ ความไม่เข้าใจกัน หรือความรู้สึกที่ซับซ้อน ทีมงานผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมที่จะรับฟัง ให้คำปรึกษา และช่วยแก้ไขปัญหาของคุณด้วยความเป็นมิตรและจริงใจ ที่พิชญานิน คลินิก คลินิกที่ตกแต่งด้วยบรรยากาศที่อบอุ่น และเป็นกันเอง ทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย และมั่นใจในการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ การให้คำปรึกษาของเรามีทั้งแบบตัวต่อตัว และแบบคู่รัก เพื่อให้คุณได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของคุณ นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญกับการเก็บรักษาความลับของลูกค้าอย่างเคร่งครัด เพื่อให้คุณสามารถเปิดเผยความรู้สึก และปัญหาของคุณได้อย่างสบายใจ  เราเชื่อว่าทุกปัญหามีทางออก และเราพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยคุณค้นหาทางแก้ไขที่ดีที่สุดเพื่อความสุขในความสัมพันธ์ของคุณ

พิชญานิน คลินิก คลินิกสุขภาพใจ บริการวางแผนรักษาโรคทางจิตเวช
โทร. 063-868-9925, 02-853-3863
อีเมล pichayaninclinic@gmail.com

Reference:

https://www.sikarin.com/health/18767

https://www.paolohospital.com//th-TH/samut/Article/Details/เด็กสมาธิสั้น---อาการที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย

https://www.synphaet.co.th/children-ramintra/โรคสมาธิสั้นคืออะไร/