เวลาทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 11.00-20.00 | วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 10.00-20.00
เวลาทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 11.00-20.00
วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 10.00-20.00
ปรึกษาจิตแพทย์

การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยการปรับเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรม

รู้จักการรักษาโรคซึมเศร้าด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรม ทำได้หากรักษาถูกวิธี

อารมณ์เศร้าเสียใจเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องพบเจอเป็นธรรมดา ซึ่งปกติแล้วก็จะสามารถผ่อนคลายลงได้เมื่อวันเวลาผ่านไป แต่ถ้าหากอารมณ์หดหู่นี้คงอยู่เป็นระยะเวลานานจนทำให้เราตกอยู่ในห้วงภวังค์ของความเศร้า กระทั่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน นั่นอาจแปลว่าเรากำลังประสบกับภาวะซึมเศร้าอยู่ก็เป็นได้ ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ บทความนี้เราจะมาพูดถึงวิธีรักษาโรคซึมเศร้าด้วยวิธีการการปรับเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรม หรือ Cognitive Behavioral Therapy ที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับการบำบัดสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ

รู้เท่าทันก่อนรักษาโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า (Depression) เกิดจากความผิดปกติในการหลั่งสารสื่อประสาทในสมองที่ไม่สมดุล ส่งผลให้เกิดภาวะผิดปกติของอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ โดยทำให้เกิดปัญหาทางด้านอารมณ์ และร่างกายเป็นระยะเวลานานจนทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน การเข้าสังคม รวมถึงส่งผลต่อความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง สาเหตุของโรคซึมเศร้ามีอยู่หลายอย่าง โดยอาจถูกกระตุ้นจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง หรือสะเทือนใจในชีวิต เช่น การสูญเสียคนที่รัก การตกงาน ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือจะเกิดจากพันธุกรรม ฮอร์โมน การเจ็บป่วยเรื้อรัง ไปจนถึงการใช้ยา หรือสารบางชนิดก็ได้เช่นเดียวกัน

อาการของโรคซึมเศร้า

  • - รู้สึกเศร้า ว่างเปล่า หรือสิ้นหวัง
  • - รู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิด หรือโทษตัวเอง
  • - จมอยู่กับความล้มเหลวในอดีต
  • - อารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่ายแม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อย
  • - นอนหลับผิดปกติ อาจนอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
  • - สูญเสียความสนใจหรือความสุขในกิจกรรมต่าง ๆ
  • - รู้สึกเหนื่อยจนไม่อยากทำอะไร แม้จะเป็นกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ
  • - การคิด การพูด และการเคลื่อนไหวร่างกายช้าลง
  • - กินมากเกินไปจนน้ำหนักขึ้น หรือกินน้อยเกินไปจนน้ำหนักลด
  • - มีความคิดฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย

โรคซึมเศร้าอาจนำไปสู่ปัญหาการทำร้ายตนเองได้ การเข้ารับการบำบัดรักษาโรคซึมเศร้าจากจิตแพทย์อย่างสม่ำเสมอจะช่วยเยียวยาบาดแผลในใจให้เบาบางลง ซึ่งการรักษาโรคซึมเศร้านั้นสามารถทำได้โดยการใช้ยา การเข้ารับการบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรม หรือต้องทำควบคู่กันก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์

การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยการปรับเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรม

Cognitive Behavioral Therapy (CBT) เป็นวิธีบำบัดจิตด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรม ใช้การปรึกษาจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความคิด และการรับรู้ของตนเองซึ่งอาจผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง การรักษาด้วยวิธีนี้มุ่งที่จะจัดการกับสภาวะอารมณ์ และกระบวนการทางความคิดที่เป็นปัญหา โดยเน้นที่การประเมิน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากกว่าในอดีต เพื่อให้ผู้ป่วยได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กลับมาเป็นปกติ หลักการของ Cognitive Behavioral Therapy เชื่อว่าระบบความคิด สภาวะอารมณ์ และพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมีความเกี่ยวข้อง และส่งผลต่อกัน และกัน ดังนั้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบความคิดแง่ลบ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และการแสดงออกทางอารมณ์ให้เป็นไปในทางที่ดีได้

วิธีการบำบัดความคิด และพฤติกรรมนี้ ไม่ได้เป็นวิธีที่นักจิตบำบัดนำมาใช้เพื่อรักษาโรคซึมเศร้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติทางจิตได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น โรควิตกกังวล โรคแพนิค โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD) รวมถึงใช้เพื่อรักษาการติดสุรา หรือสารเสพติด ไปจนถึงผู้ที่มีปัญหากิน และการนอนหลับที่ผิดปกติ

ขั้นตอนการรักษาโรคซึมเศร้าด้วย Cognitive Behavioral Therapy
การรักษาด้วย Cognitive Behavioral Therapy ขึ้นอยู่กับปัญหาของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งอาจเป็นการบำบัดด้วยการเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว การทดลองทางพฤติกรรม การจัดการกับความเครียด หรือการเล่นบทบาทสมมติ ในขั้นตอนแรกของการรักษา นักจิตวิทยามักจะเริ่มจากการสอบถามประวัติ โดยจะให้เล่าถึงความคิด ความรู้สึก และปัญหาที่กำลังประสบอยู่ ซึ่งข้อมูลของผู้ป่วยจะถูกเก็บเป็นความลับ และไม่ถูกเปิดเผยให้กับผู้อื่น ยกเว้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะทำร้ายตัวเอง หรือทำร้ายผู้อื่น รวมถึงผู้ป่วยที่ไม่สามารถปกป้องความปลอดภัยของตัวเองได้ ในระยะแรกผู้ป่วยอาจรู้สึกลำบากใจหรือกังวลที่จะถ่ายทอดเรื่องราวของตนเองให้ผู้อื่นได้ฟัง เนื่องจากถูกกระตุ้นให้นึกถึงปัญหาที่อยากหลีกเลี่ยง แต่ผู้บำบัดจะค่อย ๆ ให้ผู้ป่วยเล่าปัญหาของตนเองโดยไม่ให้รู้สึกลำบากใจ และช่วยวิเคราะห์ปัญหาที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญอยู่เพื่อนำไปสู่การรักษา โดยมีขั้นตอนการรักษาต่อไปนี้

  • - ประเมิน และวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยแต่ละคนอย่างละเอียด และเฉพาะเจาะจง
  • - ให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงระบบความคิดของตนเองที่อาจผิดเพี้ยนไป และปรับความคิดนั้นใหม่ให้ตรงกับความเป็นจริง
  • - ให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา และนำไปใช้ในทางปฏิบัติ
  • - สร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพ และคุณค่าของตัวเองให้กับผู้ป่วย
  • - ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจพฤติกรรม หรือแรงจูงใจในการกระทำของผู้อื่นยิ่งขึ้น

ปกติแล้วการรักษาโรคซึมเศร้าจะใช้เวลาครั้งละประมาณ 30 – 60 นาที โดยจะรักษาเป็นเวลา 5 – 20 ครั้ง ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการบำบัดทุก 1 – 2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับอาการ ผู้ป่วยส่วนมากจะรู้สึกว่าอาการเริ่มดีขึ้นในช่วงสองเดือนแรกหลังได้รับการบำบัด แต่ผลลัพธ์ของการรักษาก็ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยเช่นกัน หากมีความร่วมมือในการรักษา พร้อมเปิดใจยอมรับ เข้ารับการบำบัดอย่างสม่ำเสมอ ขั้นตอนการรักษาโรคซึมเศร้าก็จะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และถ้าหากผู้ป่วยสามารถปรับความคิด และพฤติกรรมของตนเองตามที่วางเป้าหมายไว้ได้แล้ว รวมทั้งนำหลักการของการรักษาไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ก็อาจไม่ต้องรับการรักษาอีก

แม้การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยวิธี Cognitive Behavioral Therapy อาจไม่สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และความคิดได้อย่างเด็ดขาด แต่ก็ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ ดังนั้นจึงควรเข้ารับการบำบัดกับจิตแพทย์ที่มีประสบการณ์ และสามารถให้คำปรึกษาอย่างเหมาะสม เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพที่สุด

ที่พิชญานิน คลินิก คลินิกสุขภาพใจ พร้อมรับฟังปัญหา และบริการวางแผนการรักษาโรคซึมเศร้า โรคแพนิค โรคนอนไม่หลับ โรควิตกกังวล โรคสมาธิสั้น และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รับปรึกษาปัญหาความรัก หรือปรึกษาปัญหาโรคจิตเวชอื่น ๆ โดยจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดูแลครอบคลุมทั้งบริการทางจิตเวชทั่วไปในเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ มีการตรวจประเมินสุขภาพจิตอย่างละเอียด ทั้งด้านการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ระบบประสาท และประเมินศักยภาพสมอง สามารถให้คำปรึกษาในกลุ่มอาการหลากหลายที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของท่าน หรือคนที่ท่านรัก เพื่อเพิ่มสมาธิให้กับจิตใจ และทำให้คุณได้ใส่ใจในรายละเอียดเล็ก ๆ ในชีวิตมากขึ้น ผู้รับบริการจะได้รับความรู้ความเข้าใจในภาวะโรค และมีบทบาทในการวางแผนการรักษาร่วมกัน ทั้งในส่วนการรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัด

พิชญานิน คลินิก คลินิกสุขภาพใจ บริการวางแผนรักษาโรคทางจิตเวช
โทร. 063-868-9925, 02-853-3863
อีเมล pichayaninclinic@gmail.com