เวลาทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 11.00-20.00 | วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 10.00-20.00
เวลาทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 11.00-20.00
วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 10.00-20.00
โรคสมาธิสั้น

สาเหตุ และวิธีการป้องกันโรคสมาธิสั้น พร้อมวิธีการรักษาโรคสมาธิสั้นโดยไม่ใช้ยา

ทำความรู้จักกับ ‘โรคสมาธิสั้น’ โรคยอดฮิตในเด็กที่รักษาได้หากพบเร็ว โดยไม่ต้องใช้ยา

เชื่อว่าพ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนน่าจะเคยได้ยินชื่อของ ‘โรคสมาธิสั้น’ หรือ ‘Attention Deficit Hyperactivity Disorder’ กันมาบ้าง เพราะโรคนี้เป็นหนึ่งในโรคสำคัญที่เหล่าจิตแพทย์เด็กมักเตือนให้ผู้ปกครองทุกคนเฝ้าสังเกตบุตรหลานของตัวเองเป็นพิเศษ เพราะเป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยในเด็กอายุน้อย ๆ โดยจากการวิจัยพบว่า มีเด็กวัยเรียนทั่วโลกเป็นโรคสมาธิสั้นสูงถึง 7 เปอร์เซ็นต์ กล่าวคือหามีการตรวจเด็ก 100 คน จะต้องมีมีเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น 7 คน แม้จะฟังดูน่ากลัว ทว่าโรคสมาธิสั้นสามารถรักษาให้หายได้หลายวิธี และยิ่งรู้ตัวเร็วเท่าไร ก็จะยิ่งรักษาได้มีประสิทธิภาพมากเท่านั้น เพื่อช่วยให้พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนรู้จักโรคนี้ให้ดีขึ้น และสามารถเฝ้าระวังลูกน้อยของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ในบทความนี้เลยจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ ‘โรคสมาธิสั้น’ โรคยอดฮิตในเด็ก ที่รักษาได้หากพบเร็ว โดยไม่ต้องใช้ยา

ไขข้อข้องใจ! โรคสมาธิสั้นคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร รักษาหายได้ไหมถ้าไม่ใช้ยา?

โรคสมาธิสั้นคืออะไร?

โรคสมาธิสั้น (ADHD) หรือภาวะสมาธิสั้น คือโรคที่เกิดมาจากสมองส่วนหน้าทำงานได้ไม่ปกติอันเนื่องมาจากมีสารสื่อประสาทหลั่งออกมาน้อยกว่าเด็กทั่วไป ซึ่งสมองส่วนหน้านี้มีหน้าที่ในการควบคุมสมาธิ การยับยั้งชั่งใจ และการเคลื่อนไหวของร่างกาย แต่เมื่อสมองส่วนนี้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ก็ส่งผลให้กลายเป็นโรคสมาธิสั้นได้ โดยโรคนี้จะสามารถพบได้ในช่วงอายุประมาณ 3 – 6 ปี แต่จะสามารถพบเห็นได้ชัดเจนเมื่ออายุ 6 – 12 ปี เพราะเด็กจะแสดงอาการ และพฤติกรรมออกมาชัดเจนได้มากกว่าตอนอายุยังน้อย ประกอบกับเป็นวัยที่เด็ก ๆ เริ่มเข้าโรงเรียน และพบปะผู้คน จึงต้องเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น เลยสามารถสังเกตเห็นความแตกต่างได้ง่ายนั่นเอง

อาการของโรคสมาธิสั้นเป็นอย่างไร?

ตามปกติแล้วโรคสมาธิสั้นจะมีอาการอยู่สามรูปแบบ เรียกว่าอาการด้านขาดสมาธิจดจ่อ อาการอยู่ไม่นิ่ง และอาการหุนหันพลันแล่น โดยเราจะจำแนกให้เห็นภาพชัด ๆ ดังนี้

  • อาการด้านขาดสมาธิ: เวลาเรียนหนังสือ หรือทำการบ้าน เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักจะทำงานตกหล่น สะเพร่า ทำงานไม่เสร็จ เหม่อลอย ขี้ลืม ทำของหายบ่อย ทำงานเดิมนาน ๆ ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนกิจกรรมบ่อย ๆ ว่อกแว่กง่าย เวลาคนพูดด้วยจะมีท่าทีเหมือนไม่ตั้งใจฟังหรือไม่รับรู้

  • อาการอยู่ไม่นิ่ง: เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีอาการยุกยิก มืออยู่ไม่สุข กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้ ต้องขยับตลอด นั่งไม่ติดที่ ชอบเดินไปมา ชอบวิ่ง ไม่เดิน ชอบเล่นรุนแรง โลดโผน เหนื่อยยาก พูดเก่ง พูดเร็ว  และชอบพูดไปเรื่อยไม่หยุดง่าย ๆ

  • อาการหุนหันพลันแล่น: เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักจะรอคอยไม่ได้ เหมือนเวลาคิดอยากทำอะไรก็จะทำทันที ไม่รีรอ คิดอย่างไรก็จะพูดอย่างนั้น หรือบางทีก็จะพูดสวนกลางคันทันที หรือเวลาต้องทำกิจกรรมที่ใช้เวลานานเด็ก ๆ มักจะอดทนไม่ได้

สาเหตุของโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่

  1. ปัจจัยทางพันธุกรรม: มีหลักฐานว่าโรคสมาธิสั้นมีความสัมพันธ์กับพันธุกรรม และการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น หากมีพ่อแม่หรือญาติสายตรงเป็นโรคนี้ก็มีโอกาสสูงที่บุตรหลานจะเป็นด้วย

  2. ความผิดปกติทางโครงสร้างและหน้าที่ของสมอง: ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นมักพบความผิดปกติของบริเวณสมองส่วนหน้า ซึ่งควบคุมการวางแผน การจัดลำดับ การควบคุมตนเอง รวมถึงการขาดสมดุลของสารสื่อประสาทบางชนิด เช่น โดพามีน

  3. ปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์และคลอด: เช่น แม่สูบบุหรี่ ดื่มสุราขณะตั้งครรภ์ เด็กคลอดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าปกติ ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมาธิสั้นนี้

  4. การได้รับสารพิษและมลพิษ: การได้รับสารพิษบางชนิด เช่น สารตะกั่ว อาจทำให้เกิดปัญหาโรคสมาธิสั้นได้

  5. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดู: แม้ว่ายังไม่ชัดเจน แต่การเผชิญกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และความรุนแรงมากเกินไป อาจทำให้เด็กที่มีแนวโน้มเกิดปัญหาโรคสมาธิสั้นมีอาการชัดเจนขึ้น นอกจากนี้การเลี้ยงดูที่ขาดวินัย ความไม่สอดคล้องกันของพ่อแม่ ก็อาจเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดอาการได้

โดยสรุป โรคสมาธิสั้นเป็นภาวะที่มีสาเหตุจากปัจจัยหลายประการ ทั้งพันธุกรรม สมอง สภาพแวดล้อม และการเลี้ยงดู การค้นพบสาเหตุที่แท้จริงจะช่วยให้เราเข้าใจ และรักษาโรคนี้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น

การรักษาโรคสมาธิสั้นโดยไม่พึ่งยา

โรคสมาธิสั้นสามารถรักษาได้หลากหลายวิธีทั้งแบบใช้ยา และไม่ใช้ยา โดยในกรณีที่ไม่ใช้ยาก็จะเป็นการปรึกษาจิตแพทย์เป็นหลัก โดยหลังจากปรึกษาแล้วทางจิตแพทย์ก็จะทำการออกแบบการรักษาให้เข้ากับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน เช่น การทำพฤติกรรมบำบัดผ่านการกำหนดระบบการให้รางวัลและลงโทษ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีควบคุมตนเองได้ดีขึ้น หรืออาจจะเป็นโปรแกรมฝึกหัดสำหรับผู้ปกครองเพื่อฝึกอบรมให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค สามารถดูแล และจัดการพฤติกรรมของผู้ป่วยได้อย่างถูกวิธี ยังมีการบำบัดทางจิตวิทยาแบบพิจารณาความคิดและพฤติกรรม (CBT) เป็นการปรับเปลี่ยนความคิด และมุมมองที่คับแคบ หรือบิดเบือนของผู้ป่วย ให้มีแนวคิดที่เหมาะสมและสามารถควบคุมพฤติกรรมได้ดีขึ้น

การฝึกทักษะทางสังคม ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปฏิสัมพันธ์ และมีปฏิกิริยาตอบสนองได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เป็นการหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการกระสับกระส่าย เช่น น้ำตาล สีผสมอาหาร คาเฟอีน เป็นต้น โดยภาพรวมแล้วการรักษาโดยไม่ใช้ยาจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมได้ดีขึ้น มีทักษะการใช้ชีวิตที่เหมาะสม สามารถปรับตัวเข้ากับสังคม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แม้จะต้องใช้ระยะเวลานานในการฝึกฝน แต่ก็เป็นทางเลือกที่ปลอดภัย และยั่งยืน ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่จะรักษาด้วยวิธีการไหนขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของแพทย์

ทั้งหมดนี้คือข้อมูลสำคัญ ๆ เกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นที่หลายคนมักสงสัยว่าคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร รักษาหายได้ไหมถ้าไม่ใช้ยา ซึ่งถ้าใครกำลังกังวลใจ หรือสงสัยว่าบุตรหลานของตัวเองเข้าข่ายหรือไม่ ก็สามารถเข้ามาปรึกษาจิตแพทย์ที่คลินิกสุขภาพจิตใกล้บ้าน หรือที่พิชญานินคลินิก คลินิกสุขภาพใจ ยินดีให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาแบบครบวงจร (One Stop Service) รับปรึกษาปัญหาความรัก ปรึกษาปัญหาโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคสมาธิสั้น โรคแพนิค และปัญหาสุขภาพจิต จิตเวช จิตบำบัด ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ บริการดูแลครอบคลุมทั้งบริการทางจิตเวชทั่วไปในเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ มีการตรวจประเมินสุขภาพจิตอย่างละเอียด ทั้งด้านการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ระบบประสาท และประเมินศักยภาพสมอง สามารถให้คำปรึกษาในกลุ่มอาการหลากหลายที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของท่าน หรือคนที่ท่านรัก เพื่อเพิ่มสมาธิให้กับจิตใจ และทำให้คุณได้ใส่ใจในรายละเอียดเล็ก ๆ ในชีวิตมากขึ้น ผู้รับบริการจะได้รับความรู้ความเข้าใจในภาวะโรค และมีบทบาทในการวางแผนการรักษาร่วมกัน ทั้งในส่วนการรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัด 

พิชญานิน คลินิก คลินิกสุขภาพใจ บริการวางแผนรักษาโรคทางจิตเวช
โทร. 063-868-9925, 02-853-3863
อีเมล pichayaninclinic@gmail.com