เวลาทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 10.00-20.00 | วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 10.00-20.00
เวลาทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 10.00-20.00
วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 10.00-20.00
การจัดการกับโรคสมาธิสั้นในช่วงวัยเรียน

การจัดการกับโรคสมาธิสั้นในช่วงวัยเรียน

4 วิธีสำคัญในการจัดการกับโรคสมาธิสั้นในช่วงวัยเรียน

เมื่อบุตรหลานมีอาการสมาธิสั้น เชื่อว่าผู้ปกครองหลายคนคงรู้สึกปวดใจ โดยเฉพาะพ่อแม่ที่มีลูกหลานอยู่ในวัยเรียนที่ต้องพบปะกับเด็กคนอื่น ๆ ในสังคม และเรียนหนังสือตามลำดับชั้น เนื่องจากมีความกังวลว่าบุตรหลานของตนจะแตกต่างไปจากคนอื่น เข้าสังคมยาก ไปจนถึงเรื่องการเรียนที่อาจจะเรียนไม่ทันเพื่อน แต่ความกังวลเหล่านี้สามารถคลี่คลายได้หากทำความเข้าใจกับโรคสมาธิสั้นในเด็กช่วงวัยเรียนได้อย่างถูกต้อง

โรคสมาธิสั้น หรือ ADHD-Attention Deficit Hyperactivity Disorder คือโรคที่เกิดจากการที่สารเคมีในสมองส่วนหน้าหลั่งไม่เท่ากัน หรือหลั่งน้อยกว่าปกติ ซึ่งอาจมีต้นเหตุมาจากพันธุกรรม, การเลี้ยงดู, หรือสภาพแวดล้อม ทำให้เด็ก ๆ มีอาการซุกซน ว่อกแว่กง่าย ขาดสมาธิ ขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดความรับผิดชอบ และไม่ตั้งใจฟังในสิ่งที่คนอื่นพูด ซึ่งองค์ประกอบของอาการทั้งหมดนี้ ส่งผลต่อการเรียนของเด็ก ๆ ได้อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน โรคสมาธิสั้นในเด็กวัยเรียนเป็นโรคที่สามารถควบคุมอาการได้หากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

เพื่อช่วยให้พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนคลายความกังวลใจ เข้าใจ และสามารถรับมือกับอาการสมาธิสั้นของบุตรหลานวัยเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้พิชญานิน คลินิก คลินิกสุขภาพใจ อยากชวนทุกคนมาคลายใจให้เบา และเรียนรูวิธีการดูแลบุตรหลานในวัยเรียนที่มีอาการสมาธิสั้น ให้ดีขึ้นในเร็ววันไปพร้อม ๆ กัน

รวม 4 แนวทางการดูแลบุตรหลานวัยเรียนที่มีอาการโรคสมาธิสั้น

  1. เริ่มต้นโอบกอดบุตรหลาน ด้วยการทำความเข้าใจโรคสมาธิสั้น
    สำหรับวิธีการข้อแรกที่ทุกครอบครัว ควรร่วมมือกัน เพื่อช่วยรักษาโรคสมาธิสั้นของบุตรหลานให้ ดีขึ้นคือการสังเกต ยอมรับ ทำความเข้าใจ และปรับตัวเข้ากับเด็ก ๆ กล่าวคือทุกคนต้องเข้าใจธรรมชาติของโรคนี้และไม่โมโหกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อพ่อแม่มองเห็นว่าเด็กไม่ตั้งใจเรียน ขี้เกียจทำการบ้าน หรือมีเกรดเฉลี่ยที่ไม่ดีดังหวัง พ่อแม่ต้องเข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นผลมาจากอาการของโรคสมาธิสั้น ที่ทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้ไม่เต็มที่ และทำความเข้าใจ ไม่ดุ ด่า  ว่ากล่าวเด็ก เพราะจะทำให้สถานการณ์แย่ลง สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำในสถานการณ์เหล่านี้ คือการโอบกอดเด็ก ๆ  ไม่ทำให้พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยว แปลกแยก และเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาไปด้วยกันทั้งครอบครัว 

  2. ปรึกษาจิตแพทย์ คือกระดุมเม็ดแรกของการแก้ไขปัญหาโรคสมาธิสั้นในเด็กวัยเรียนที่ถูกต้อง
    หลังจากที่ทุกคนในครอบครัว ยอมรับ และเตรียมพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน อีกหนึ่งหน่วยสนับสนุนที่ต้องจับมือกันไว้แน่น ๆ ก็คือจิตแพทย์ เพราะโรคสมาธิสั้นคือโรคที่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้โดยการปรึกษาจิตแพทย์และทำตามคำแนะนำของจิตแพทย์อย่างเคร่งครัด 

  3. สภาพแวดล้อม และครูที่ดีก็เป็นอีกหนึ่งผู้สนับสนุนที่ขาดไม่ได้
    เด็กวัยเรียนต่างจากเด็กเล็ก พวกเขาไม่ได้มีโลกอยู่เพียงในรั้วบ้าน และพ่อแม่เท่านั้น แต่ยังมีโลกในโรงเรียน ซึ่งบางครั้ง สายตาของผู้ปกครองก็สอดส่ายเข้าไปไม่ถึง ‘สภาพแวดล้อมในโรงเรียน’ และ ‘คุณครู’ จึงเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่จะคอยสนับสนุนการรักษาอาการโรคสมาธิสั้น พ่อแม่ ผู้ปกครองควรแจ้งคุณครูให้ทราบเรื่อง เพื่อร่วมมือกันหาวิธีการรับมือและแก้ปัญหาร่วมกัน เช่น ขอให้เด็กที่มีอการสมาธิสั้นได้นั่งด้านหน้า เพื่อให้เขาจดจ่อกับการเรียนได้มากขึ้น หรือหากสังเกตว่าเด็ก ๆ เริ่มไม่มีสมาธิ ก็ให้คุณครูช่วยหากิจกรรมอื่นที่เสริมให้เขากลับมามีสมาธิได้ เป็นต้น

  4. การใช้ยารักษาคือสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม แต่ห้ามใช้เอง
    การใช้ยารักษาเป็นแนวทางการรักษาโรคสมาธิสั้นที่เห็นผล โดยยาที่นิยมใช้กันมีชื่อว่า Methylphenidate ที่จะช่วยให้เด็ก ๆ จดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น ออกฤทธิ์เร็ว และไม่สะสมในร่างกายจนเกิดอาการเสพติด อย่างไรก็ตามยาเหล่านี้ไม่ควรซื้อทานเอง ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น  

หลังจากอ่านบทความนี้จบ เชื่อว่าพ่อแม่ผู้ปกครองทุกคน จะเข้าใจโรคสมาธิสั้นได้มากขึ้น และสามารถรับมือได้โดยผ่านการปรับพฤติกรรม การร่วมมือกันของคนในครอบครัว จิตแพทย์ และใช้ยาช่วยในการรักษาหากผู้ปกครองท่านใดกำลังมองหาคลินิกสุขภาพจิตที่มีความพร้อมในการรักษาโรคสมาธิสั้นในเด็กวัยเรียนอย่างเชี่ยวชาญ และบริการดูแลครอบคลุมครบวงจรทางจิตเวช (One Stop Service)  ที่พิชญานิน คลินิก คลินิกสุขภาพใจ พร้อมรับฟังปัญหา และบริการวางแผนการรักษา โดยเราเน้นย้ำผู้มารับบริการเป็นศูนย์กลางเสมอ (Client Centric) 
 
พิชญานิน คลินิก คลินิกสุขภาพใจที่พร้อมให้บริการด้วยบรรยากาศของสถานที่ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เปรียบเสมือนอยู่ในบ้านที่เราสามารถพูดคุย ปรึกษาหารือกันได้ทุกเรื่อง ทำให้ทุกคนไม่รู้สึกแปลกแยกหรือเป็นผู้ป่วย สามารถเลือกเวลานัดหมายเองได้ทุกวันแบบไม่มีวันหยุด ตั้งแต่ 10.00 - 22.00 น. โดยจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการตรวจประเมินสุขภาพจิตอย่างละเอียดทั้งด้านการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ระบบประสาท และประเมินศักยภาพสมอง พร้อมให้คำปรึกษาในกลุ่มอาการหลากหลายที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของท่าน หรือคนที่ท่านรัก อาทิเช่น โรคซึมเศร้า โรคแพนิค โรคนอนไม่หลับ โรควิตกกังวล โรคสมาธิสั้น รับปรึกษาปัญหาความรัก และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ

พิชญานิน คลินิก คลินิกสุขภาพใจ บริการวางแผนรักษาโรคทางจิตเวช
โทร. 063-868-9925, 02-853-3863
อีเมล pichayaninclinic@gmail.com

Reference:
https://www.sikarin.com/health/18767
https://www.paolohospital.com//th-TH/samut/Article/Details/เด็กสมาธิสั้น---อาการที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย
https://www.synphaet.co.th/children-ramintra/โรคสมาธิสั้นคืออะไร/