เวลาทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 10.00-20.00 | วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 10.00-20.00
เวลาทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 10.00-20.00
วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 10.00-20.00
10 อาการโรคซึมเศร้าที่พบบ่อยที่สุด พร้อมวิธีแยกแยะกับความเครียดธรรมดา

10 อาการโรคซึมเศร้าที่พบบ่อยที่สุด พร้อมวิธีแยกแยะกับความเครียดธรรมดา

รู้ได้อย่างไรว่ากำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า สำรวจอาการที่เห็นว่าคุณแค่เครียดหรือไม่

ความวิตกกังวลเป็นความรู้สึกทางใจที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยแวดล้อมในปัจจุบันหรือผลในภาวะปัจจุบันที่ผู้คนมีความเครียดสูง จึงทำให้หลายคนที่มีความเครียดสะสมเริ่มกังวลใจว่า เรากำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือเราแค่เครียด ? เพราะอาการซึมเศร้าและความเครียดจะมีอาการบางอย่างเหมือนกัน แต่ภาวะซึมเศร้าเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และร่างกายที่รุนแรงและต่อเนื่อง ในขณะที่ความเครียดเป็นปฏิกิริยาชั่วคราว และเพื่อให้ทุกคนได้สำรวจตัวเอง เรามีอาการที่พบบ่อย 10 ประการของภาวะซึมเศร้า พร้อมวิธีการแยกออกจากความเครียดธรรมดา ว่าแตกต่างกันอย่างไรมาแนะนำ เพื่อที่จะได้รักษาโรคซึมเศร้าได้ทันท่วงที


ภาวะโรคซึมเศร้าคืออะไร ?

การรู้สึกหดหู่เป็นบางครั้งถือเป็นเรื่องปกติของชีวิต แต่เมื่อมีอารมณ์เช่นความสิ้นหวังและหมดหวังเข้ามาด้วยนั้น และไม่ยอมหายไป คุณอาจเป็นโรคซึมเศร้าได้ ภาวะซึมเศร้าไม่ได้เป็นเพียงความเศร้าโศกที่เกิดจากความเสียใจ ผิดหวัง หรือมีอุปสรรคในชีวิต แต่ยังเปลี่ยนแปลงวิธีคิด ความรู้สึก และการทำงานในกิจกรรมประจำวันของคุณอีกด้วย อาการซึมเศร้าอาจขัดขวางความสามารถในการทำงาน เรียน กิน นอน และสนุกกับชีวิต ทำให้การพยายามผ่านแต่ละวันไปให้ได้ก็อาจเป็นเรื่องยาก โรคซึมเศร้า อาการในแต่ละคนและความรุนแรงก็แตกต่างกันออกไป บางคนรู้สึกว่าชีวิตกำลังจะล่มสลาย ในขณะที่บางคนรู้สึกไร้ชีวิตชีวา ว่างเปล่า และเฉยเมย โดยเฉพาะผู้ชายอาจรู้สึกโกรธและกระสับกระส่าย และหากไม่ได้รับการรักษาโรคซึมเศร้า อาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้


10 อาการทั่วไปของโรคซึมเศร้าที่พบบ่อยที่สุด

หากคุณเป็นโรคซึมเศร้า อาการอาจพบได้หลายอย่าง และอาการโรคซึมเศร้านี้อาจแตกต่างกันได้ เนื่องจากแต่ละคนจะมีอาการและภาวะซึมเศร้าที่แตกต่างกัน และเพื่อสำรวจตัวเองเบื้องต้น มาดูกันว่า 10 อาการโรคซึมเศร้าที่พบบ่อยที่สุด มีอะไรบ้าง

  1. อารมณ์เสียเรื้อรัง หงุดหงิดง่าย
    หลาย ๆ คนอาจมีความรู้สึกแย่และอารมณ์เสียเป็นบางครั้ง แต่เมื่อความรู้สึกนี้ไม่ยอมหายไป อาจหมายความว่าคุณกำลังประสบกับภาวะซึมเศร้าได้ คุณอาจรู้สึกกระสับกระส่าย กังวล หรือหงุดหงิดง่าย แม้กระทั่งในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อาการวิตกกังวลมักเกิดขึ้นพร้อมกับโรคซึมเศร้า ทำให้อาจมีปัญหาในการควบคุมปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือร้าย

  2. สูญเสียความสนใจหรือความสุขในสิ่งที่เคยชอบ
    หนึ่งในโรคซึมเศร้า อาการที่พบบ่อยเลยคือ มีความสนุกสนานหรือสนใจกิจกรรมที่เคยชอบน้อยลง เช่น งานอดิเรก งานที่ทำ หรือปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ไม่มีความปรารถนาที่จะทำเหมือนเมื่อก่อน เพราะรู้สึกสูญเสียความสามารถในการมีความสุข ทำให้เข้าร่วมในการทำกิจการต่าง ๆ น้อยลง หรือทำไม่ได้เลย

  3. ความรู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือไร้ค่า
    ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายคนอาจรู้สึกผิดอย่างมากเกี่ยวกับการกระทำหรือเหตุการณ์ในอดีต คุณอาจรู้สึกมีความนับถือตนเองต่ำและเกลียดตัวเอง รู้สึกสิ้นหวังและหมดหนทาง เศร้า ว่างเปล่า และรู้สึกไร้ค่า โทษตนเองมากเกินไป รู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ มีทัศนคติที่มองโลกในแง่ร้าย และคิดว่าไม่มีอะไรจะดีขึ้นและไม่มีอะไรที่คุณทำได้ ในบางคนอาจมีอาการร้องไห้เกือบทั้งวัน หรือเกือบทุกวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์

  4. พลังงานลดลง อ่อนล้า หรือรู้สึกเชื่องช้า
    คนส่วนใหญ่มักนึกถึงว่าโรคซึมเศร้า อาการจะเป็นทางด้านจิตใจและอารมณ์ แต่จริง ๆ แล้วภาวะซึมเศร้าก็อาจทำให้เกิดอาการทางกายได้เช่นกัน หลายคนอาจรู้สึกสูญเสียพลังงาน รู้สึกอ่อนล้า เฉื่อยชา และหมดแรงทางร่างกาย แม้แต่ภารกิจเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ทำให้เหนื่อยล้าหรือใช้เวลานานกว่าปกติในการทำ จนบางครั้งรู้สึกเหนื่อยหรือหมดแรงตลอดเวลา แม้จะนอนหลับเพียงพอแล้วก็ตาม

  5. มีอาการนอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
    ภาวะโรคซึมเศร้าอาจทำให้พฤติกรรมการนอนของคุณเปลี่ยนไปอย่างมาก อาจมีอาการนอนไม่หลับ หลับยากหรือหลับไม่สนิท นอนมากเกินไป หรือรูปแบบการนอนเปลี่ยนไป ตัวอย่างเช่น คุณอาจไม่สามารถนอนหลับได้ง่ายเหมือนเมื่อก่อน หรือตื่นเช้ามากผิดปกติจากที่เมื่อก่อนคุณเคยตื่นสาย หรืออาจเป็นโรคนอนหลับมากเกินไป เช่นนอนหลับติดต่อกัน 10 ชั่วโมงแต่ยังคงรู้สึกพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งปัญหาด้านการนอนหลับใด ๆ ก็ตามอาจทำให้เกิดปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันได้

  6. การเปลี่ยนแปลงเรื่องน้ำหนักและความอยากอาหาร
    โรคซึมเศร้า อาการที่มักพบคือ มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักและพฤติกรรมการกิน บางคนอาจมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ในขณะที่บางคนไม่มีความอยากอาหารเลย ทำให้คุณน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นจะมากกว่า 5% ของน้ำหนักตัวในเวลาหนึ่งเดือน

  7. การมีสมาธิ ความจำ หรือการตัดสินใจลดลง
    ความสามารถในการมีสมาธิอาจลดลงเมื่อเกิดภาวะโรคซึมเศร้า คุณอาจรู้สึกเหมือนสมองมึนงงและสูญเสียความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีปัญหาในเรื่องของการมีสมาธิ การตัดสินใจ หรือการจดจำสิ่งต่าง ๆ เช่น คุณอาจลืมนัดหมายที่สำคัญหรือภารกิจที่เกี่ยวข้องกับงาน และมีปัญหาในการตัดสินใจแม้แต่เรื่องง่าย ๆ

  8. การสูญเสียความต้องการทางเพศ
    เมื่อคุณซึมเศร้า ความต้องการทางเพศของคุณอาจลดลงได้ และอาจนำไปสู่ความรู้สึกผิดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคู่ของคุณไม่เข้าใจว่าทำไมคุณถึงไม่ต้องการใกล้ชิดกับเขา อาการเหล่านี้อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ได้อีกด้วย ซึ่งการสูญเสียความต้องการทางเพศนั้นเป็นสัญญาณของภาวะโรคซึมเศร้า อาการที่พบบ่อยแต่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงนัก

  9. อาจมีพฤติกรรมที่เป็นอันตราย
    ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อาการไม่ได้มีเพียงความเศร้า หดหู่ หรือมีอาการทางด้านร่างกายเท่านั้น แต่ในบางรายหากมีอาการของโรคซึมเศร้าที่รุนแรง อาจนำพาไปถึงการมีพฤติกรรมที่เป็นอันตราย และประมาทกับการใช้ชีวิตได้ เช่น การใช้สารเสพติด ติดการพนัน การขับรถเร็วโดยประมาท หรือเล่นกีฬาอันตราย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าได้ปลดปล่อยความรู้สึกเครียดภายใน และไม่สามารถยับยั้งตนเองได้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและเป็นอันตรายอย่างมาก

  10. มีความคิดเรื่องความตายหรือการฆ่าตัวตาย
    โรคซึมเศร้า อาการหนึ่งที่พบและรุนแรงคือ มีความคิดซ้ำ ๆ เกี่ยวกับความตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย หากคุณรู้สึกหดหู่ คุณอาจเริ่มมีความคิดที่ไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป อาการนี้ถือเป็นอาการร้ายแรงที่แสดงว่าถึงเวลาที่คุณต้องเข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้าโดยด่วน


การแยกความแตกต่างระหว่างภาวะโรคซึมเศร้าและความเครียด

หลายคนมีความเครียดในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเครียดเรื่องงาน ครอบครัว ความรัก หรือแม้แต่การเงิน ทุกคนต่างก็ประสบกับความเครียดในระดับที่แตกต่างกันไป แต่ความเครียดมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณได้ เมื่อคุณรู้สึกเครียดติดต่อกันเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน อาจรู้สึกหมดไฟหรืออาจถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้า แม้ว่าความเครียดและโรคซึมเศร้า อาการจะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะที่ร้ายแรงและคงอยู่ยาวนานกว่า ซึ่งต้องได้รับการรักษาที่แตกต่างกัน และนี่คือวิธีในการแยกแยะซึมเศร้ากับความเครียดธรรมดา

  1. ระยะเวลา: อาการซึมเศร้าจะคงอยู่เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ในขณะที่อาการเครียดมักจะเป็นชั่วคราวและหายไป
  2. ระดับความรุนแรง: ภาวะโรคซึมเศร้าเกี่ยวข้องกับความรู้สึกเศร้าโศก สิ้นหวัง และไร้ค่าอย่างรุนแรงและต่อเนื่องที่รบกวนการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน ในขณะที่ความเครียดมักทำให้รู้สึกกดดันหรือวิตกกังวล มักจะไม่รุนแรงนักและสามารถจัดการได้เมื่อเวลาผ่านไป
  3. ผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน: ภาวะซึมเศร้าอาจรบกวนกิจกรรมประจำวัน การนอนหลับ และความอยากอาหารได้อย่างมาก ในขณะที่ความเครียดอาจทำให้เกิดการหยุดชะงักชั่วคราว แต่โดยทั่วไปจะไม่รบกวนชีวิตประจำวันนัก
  4. ตัวกระตุ้น: โดยปกติแล้วความเครียดจะมีปัจจัยกระตุ้นที่ชัดเจนหรือสาเหตุที่ระบุได้ เช่น การสูญเสีย หรือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต ในขณะที่ภาวะโรคซึมเศร้าอาจไม่มีสาเหตุที่ระบุได้เพียงสาเหตุเดียว และสามารถเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ได้

และนี่คือ 10 อาการของโรคซึมเศร้า ที่เราพบได้บ่อยที่สุด ที่ใครกำลังมีความเครียดลองนำไปสำรวจตนเองดู ว่าคุณกำลังอยู่ในภาวะซึมเศร้า หรือแค่เครียดธรรมดา เพื่อที่หากว่าคุณมีอาการของโรคซึมเศร้า จะได้เข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้าได้ทันท่วงที เพราะภาวะซึมเศร้าอาจทำให้เราผ่านแต่ละวันไปได้ยากมาก

ที่พิชญานิน คลินิก (คลินิกสุขภาพใจ) ยินดีให้คำปรึกษาปัญหาโรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า โรคสมาธิสั้น โรคแพนิค ปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาความรัก และปัญหาทางจิตเวชที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ บริการดูแลครอบคลุมทางจิตเวช ทุกช่วงวัยแบบครบวงจร (One Stop Services) มีการตรวจประเมินสุขภาพจิตอย่างละเอียด ตั้งแต่การซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจระบบประสาท และประเมินศักยภาพสมอง ผู้รับบริการจะได้รับความรู้ความเข้าใจในภาวะโรค และมีบทบาทในการวางแผนการรักษาร่วมกัน ทั้งในส่วนการรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัด ช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าใจตนเองและผู้อื่น เรียนรู้ ปรับตัว สามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขอย่างยั่งยืน

พิชญานิน คลินิก คลินิกสุขภาพใจ บริการวางแผนรักษาโรคทางจิตเวช
โทร. 063-868-9925, 02-853-3863
อีเมล pichayaninclinic@gmail.com
LINE Pichayanin Clinic
Facebook Pichayanin Clinic
Youtube Pichayanin Clinic